การเดินทางของกระดาษหนึ่งใบ..
เป็นที่รู้กันดีว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเริ่มเสด็จฯพระราชทานปริญญาบัตรตั้งแต่ปีพ.ศ. 2493 และหลังจากนั้นบัณฑิตทุกคนก็เฝ้ารอที่จะได้รับพระราชทานปริญญาบัตรจากพระหัตถ์อย่างใจจดใจจ่อ
ภาพถ่ายวันรับพระราชทานปริญญาบัตรกลายเป็นของล้ำค่าที่ต้องประดับไว้ตามบ้านเรือนและเป็นสัญลักษณ์แห่งความสำเร็จของหนุ่มสาวและความภาคภูมิใจของบิดามารดา
จน 29
ปีต่อมามีผู้คำนวณให้ฉุกใจคิดกันว่าพระราชภารกิจในการพระราชทานปริญญาบัตรนั้นเป็นพระราชภารกิจที่หนักหน่วงไม่น้อยหนังสือพิมพ์ลงว่าหากเสด็จฯพระราชทานปริญญาบัตร490 ครั้ง ประทับครั้งละราว 3
ชม.เท่ากับทรงยื่นพระหัตถ์พระราชทานใบปริญญาบัตร470,000 ครั้ง น้ำหนักปริญญาบัตร ฉบับละ 3 ขีดรวมน้ำหนักทั้งหมดที่พระราชทานมาแล้ว141 ตัน
ไม่เพียงเท่านั้นดร.สุเมธตันติเวชกุลยังเล่าเสริมให้เห็น
"ความละเอียดอ่อนในพระราชภารกิจ"ที่ไม่มีใครคาดถึงว่า "ไม่ได้พระราชทานเฉยๆ ทรงทอดพระเนตรอยู่ตลอดเวลา
โบหลุดอะไรหลุดพระองค์ท่านทรงผูกโบว์ใหม่ให้เรียบร้อยบางครั้งเรียงเอกสารไว้หลายวันฝุ่นมันจับพระองค์ท่านก็ทรงปัดออก"
ด้วยเหตุนี้จึงมีผู้กราบบังคมทูลขอพระราชทานให้ทรงลดการเสด็จฯ
พระราชทานปริญญาบัตรลงบ้าง โดยอาจงดเว้นการพระราชทานปริญญาบัตรในระดับป.ตรีคงไว้แต่เพียงระดับปริญญาโทขึ้นไป
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกลับมีพระราชกระแสรับสั่งตอบว่าพระองค์เองเสียเวลายื่นปริญญาบัตรให้บัณฑิตคนละ6-7
วินาทีนั้นแต่ผู้ได้รับนั้นมีความสุขเป็นปีๆ เปรียบกันไม่ได้เลยที่สำคัญคือ ทรงเห็นว่าการพระราชทานปริญญาสำหรับผู้สำเร็จป.ตรีนั้นสำคัญเพราะบางคนอาจไม่มี โอกาสศึกษาชั้นปริญญาโทและปริญญาเอกดังนั้น
"จะพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตปริญญาตรีไปจนกว่าจะไม่มีแรง.."
|