บุคลากร บริการLinks

ชวนให้คิด

อย่าเอาเรื่องกับสิ่งเล็กน้อย

อย่าทำเรื่องเล็กให้เป็นเรื่องใหญ่ทางที่ถูกควรทำเรื่องใหญ่ให้เป้นเรื่องเล็ก ถ้าเป็นเรื่องเล็กอยู่แล้วก็ไม่ควรเอาเรื่องเสียเลย ปล่อยไปเสีย ทำไม่รู้ไม่เห็นไปบ้าง ไม่บอดแต่ทำเหมือนบอด ไม่ใบ้ทำเป็นเหมือนใบ้ ไม่หนวกทำเป็นเหมือนหนวก เสียบ้างจิตใจของเราก็จะสบายขึ้น

มีเรื่องแปลกประหลาด

อยู่อย่างหนึ่งในหมู่มนุษย์ คือคนส่วนมากเผชิญกับเหตุการณ์ใหญ่ๆ อย่างกล้าหาญได้ แต่กลับขาดความอดทนกับสิ่งเล็กๆน้อย ตัวอย่างเช่นการที่ใครมาพูดเสียดสีกระทบกระเทียบเปียบเปรยเขาทนไม่ได้ แต่กลับทนอยู่ในคุกในตารางได้ 20 ปี 30ปีได้ และยินดีรับความทุกข์เหล่านั้นไปตลอดเวลาที่ทางราชการกำหนด แม้จะไม่ยินดีแต่ต้องยินดีเพราะไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้

ถ้าเขายินดีรับความทุกข์เพียงเล็กน้อยเสียก่อน คือ อดทนต่อคำด่าว่าเสียดสีหรืดอาการทำนองที่เขาคิดว่าเป็นการดูถูกดูแคลนเพียงเล็กน้อยเสียก่อน ไหนเลยเขาต้องมาทนทุกข็ทรมานอันมากมายยาวนานถึงเพียงนั้น

การให้อภัยเป็นคุณธรรมสำคัญอย่างหนึ่งในมนุษย์

การให้อภัยเป็นคุณธรรมสำคัญอย่างหนึ่งในมนุษย์คนส่วนมากเมื่อจะทำทานก็นึกถึงวัตถุทานคือการให้วัตถุสิ่งของให้ได้มากเตรียมการมาก ยุ่งมาก เขายินดีทำ แต่ใครล่วงเกินอะไรไม่ได้ ไม่มีการอภัยในความผิดพลาดของผู้อื่น ความจริงเขาควรหัดการให้อภัยทานเสียบ้างจิตใจจะได้สบายขึ้น สูงขึ้น เป็นเทวดา

ดังสุภาษิตอังกฤษบทหนึ่งว่า To err is human , to forgive divine
แปลว่า การทำผิดเป็นเรื่องของมนุษย์ ส่วนการให้อภัยเป็นเรื่องของเทวดา ถือเอาความว่า มนุษย์ธรรมดาย่อมมีความผิดพลาดบ้าง ส่วนมนุษย์ที่ใจสูงย่อมมีความให้อภัยไม่เอาเรื่องกับสิ่งเล็กน้อย หรือแม้ว่าในสายตาของคนอื่นจะเป็นเรื่องใหญ่
แต่สำหรับท่านผู้มีใจกรุณาย่อมเห้ฯเป็นเรื่องเล็กน้อย

พระพุทธเจ้า

พระพุทธเจ้าที่เรานับถือนั้นมีผู้ที่ปองร้ายพระองค์ถึงขั้นจะปองร้ายเอาชีวิตก็มี เช่น พระเทวทัตและพวกพยายามปลงชีพพระชนม์หลายครั้งแต่ไม่สำเร็จ พระองค์ก็ไม่ร้ายตอบ ทรงให้อภัย มีคนใส่ร้ายด้วยเรื่องที่ร้ายแรงทำให้เสียพระเกียรติยศก็มี เช่น พวกเดียรถีย์นิครนถ์ นางจิญจมาณวิกา นาวสุนทรี เป็นต้น แต่ไม่ทรงทำตอบ ทรงให้อภัยในที่สุดคนพวกนั้นก็พ่ายแพ้ไปเอง เหมือนการนำไข่ไปตอกกับหิน ไข่ก็แตกไปเอง
 
 
พระเยซู

พระเยซู ศาสดาของคริสตศาสนาก็ทรงมีชื่อเสียงมากในการให้อภัย ไม่ทรงถือโทษต่อผู้ที่คิดร้ายกับพระองค์ ให้อภัยผู้ทำความผิดเปิดโอกาสให้กับตัว

อีกท่านหนึ่งคือ ท่านมหาตมะคานธีซึ่งมีชื่อเสียงไปทั่วโลกในเรื่องอหิงสา ความไม่เบียดเบียน การให่อภัย จนถึงกัยอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์นักวิทยาศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ได้กล่าวสดุดีท่านผู้นี้ว่า ต่อไปภายหน้ามนุษย์จะเชื่อหรือไม่ก็ไม่ทราบได้ว่าเคยมีคนอย่างนี้ (ท่านมหาตมะคานธี)
เกิดขึ้นแล้วในโลก ทั้งนี้พระคุณวิเศษในตังท่านนั้นยากที่คนสามัญจะหยั่งให้คิดถึงได้

รวมความว่ามหาบุรุษที่โลกยกย่อง

ให้เกียรติเคารพบูชานั้นล้วนเป็นนักให้อภัยทั้งสิ้น ไม่เอาเรื่องกับสิ่งเล็กๆ น้อยๆ หรือเรื่องใหญ่ทำเป็นเรื่องเล็กน้อยเสีย ท่านเหล่านั้นย่อมมีความมุ่งมั่นในอุดมคติจนไม่มีเวลาสนพระทัยหรือสนใจเรื่องเล็กน้อย แต่ท่านเหล่านี่จะสนใจเรื่องเล็กๆ น้อยๆ อันเกี่ยวกับสุขทุกข์ของผู้อื่น

ส่วนเรื่องร้ายที่ผู้อื่นทำกับท่าน ท่านไม่สนใจ ลองอ่านประวัติของท่านที่เคยเอ่ยพระนามและนามมาแล้วดูบ้างจะเห็นว่าท่านน่าเคารพบูชาเพียงใด
โลกจึงยอมน้อมเศียรให้แก่ท่าน

มีเรื่องเล่าว่า ในวัดพระพุทธศาสนานิกายเซ็นวัดหนึ่งมีพระอยู่กันหลายรูป มีพระรุปหนึ่งนิสัยทางขโมย ได้ขโมยของพระด้วยกันเสมอๆ จนวันหนึ่งพระทั้งหลาย
พากันขึ้นไปหาเจ้าอาวาส บอกว่าถ่าพระรูปนั้นยังอยู่ในวัดนี้พวกเขาจะไม่อยู่วัดนี้ ขอให้ไล่พระรูปนั้นออกไปท่านเจ้าอาวาสบอกว่า พวกคุณนั้นแหละควรจะไปได้แล้วเพระพวกคุณดีแล้วทุกรูป ส่วนพระรูปนั้นควรอยู่กับฉันก่อนเพราะยังไม่ดี

นี้คือเรื่องของผู้ที่มีใจกรุณา

คนที่เคยทำความผิดที่ยิ่งใหญ่นั้น ถ้ากลับใจได้เมื่อใดก็มักทำความดีอันยิ่งใหญ่เหมือนกัน เพราะสลดใจในเวรกรรมที่ตนเคยสร้างไว้ ดูพระเจ้าอโศกมหาราชและขุนโจรคุลีมาลเป็นตัวอย่าง พระพุทธองค์เสด็จไปโปรดองค์คุลีมาลให้กลับเป็นคนดี ก็ด้วยพระกรุณานั้นเอง

แม้พระเจ้าอโศมหาราชก็เหมือนกัน ตามประวัติว่าได้อาศัยพระภิกษุในพุทธศาสนารูปหนึ่งจึงกลับพระทัยมา ดำเนินชีวิตทางไม่เบียดเบียน ทางการให้อภัย ทรงบำเพ็ญการให้อภัยทานเป็นอันมาก

ถ้าเราจะเอาเรื่องกับเด็กรับใช้ที่บ้าน ภารโรงที่โรงเรียนหรือสำนักงาน ก็ขอให้หยุดคิดสักนิดว่า ก็แกแค่นั้นจะเอาอะไรกับแกนักหนา ถ้าแกดีเท่าเราหรือเฉลียงฉลาดปราดเปรื่องอย่างเรา แกจะมาเป็นคนใช้หรือภารโรงทำไมกัน ก็เพราะความคิดอ่านแกมีอยู่เท่านั้น แกก็ทำแค่นั้น อย่างที่เรารำคาญๆ อยู่นั้นแหละ คิดได้อย่างนี้ก็ค่อยหายกลุ้มไปหน่อย

ความทุกข์เรื่องของแกก็ค่อยผ่อนคลายลงสุภาษิตที่ว่า ความเข้าใจเป็นมูลฐานแห่วการให้อภัย เห็นว่าเขาเป็นคนอย่างนั้นเอง พระสารีบุตรเคยแสดงแก่ภิกษุทั้งหลายว่าในการคบคนนั้น ควรถือเอาเฉพาะส่วนที่ดีของเขา ส่วนไม่ดีก็ตัดทิ้งไป บางคนการทำทางกายไม่ดี แต่วาจาดี บางคนวาจาหยาบแต่การกระทำดี บางคนการกระทำทางกายก็หยาบ วาจาก็หยาบ แต่ใจดี ควรถือเอาเฉพาะส่วนที่ดีเท่านั้น ท่านเปรียบว่าเหมือนดึงผ้าออกม่จากดินโคลน เพื่อจะนำไปปะต่อใช้สอย เห็นส่วนไหนดีก็ตัดไว้ส่วนไหนไม่ดีก็ตัดทิ้งไป

ถ้าทำได้อย่งนี้ก็จะช่วยให้สบายใจได้มาก

อนึ้ง ควรคิดว่าคนเราเกิดมาด้วยจิตไม่เหมือนกัน คือพื้นฐานของจิตตอนถือปฏิสนธินั้นไม่เหมือนกันจึงมีนิสัยที่แตกต่างกันมาตั้งแต่เยาว์ เมื่อกระทบกับสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันอีกก็ทำให้บุคคลแตกต่างกันไปเป็นอันมาก ซึ่งมีนิสัยใจคอพื้นฐานทางใจและการอบรมที่แตกต่างกันจึงมีปัญหามาก ถ้าเราถือเล็กถือน้อยไม่รู้จักการให้อภัย เราก็จะมีทุกข์มาก

บางทีก็เกี่ยวกับช่องว่างระหว่างวัย ผู้ใหญ่อยากจะให้เด็กทำ พูดและคิดอย่างตน ส่วนเด็กก็อยากจะให้ผู้ใหญ่ทำพูด คิดอย่าวตนเหมือนกัน ซึ่งโดยทั่งไปเป็นไปไม่ได้ ฝ่ายผู้ใหญ่ควรให้อภัยว่าแกเป็นเด็ก ส่วนเด็กก็ควรให้อภัยว่าท่านแก่แล้ว มาเข้าใจกันเสีย คือเห็นใจซึ่งกันและกัน เมื่อเป็นดังนี้เรื่องเล็กก็ไม่กลายเป็นเรื่องใหญ่ ทุกฝ่ายอยู่กันด้วยความเห็นใจและเข้าใจ มองกันอย่างเป็นมิตรไม่ใช้ศัตรูต่อกัน

นี่ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งในการผผ่อนคลายความทุกข์และเสริมสร้างความสุขในชีวิตประจำวัน
 
ขอขอบคุณ

ข้อมูลที่มีคุณภาพ
จาก หนังสือเพื่อความสุขใจ
แต่งโดย วสินอินทสระ