หน้าหลักเกี่ยวกับวัดบุคลากรบริการLinks

ประวัติวัด

ชาวโปรตุเกส

วัดหลังแรก

วัดหลังที่ 2

วัดหลังที่ 3

วัดหลังแรก (ค.ศ. 1787 – 1837)

ชาวโปรตุเกสที่อยู่ ณ ค่ายแม่พระลูกประคำ ได้ทำการสร้างวัดหลังแรกเสร็จในปี ค.ศ. 1787 ลักษณะเป็นแบบบ้านไม้หลังใหญ่ ยกพื้นสูงเพราะน้ำท่วม ลักษณะเป็นห้องประชุมใหญ่ มีห้องซาคริสเตีย และด้านข้างมีบ้านพักพระสงฆ์หลังเล็ก ๆ 1 หลัง และในวัดหลังนี้เอง พวกเขาได้นำรูปแม่พระลูกประคำ ที่นำมาด้วยจากกรุงศรีอยุธยา ประดิษฐานไว้ด้านหลังพระแท่น ส่วนรูปพระศพของพระเยซูเจ้านั้น พวกเขาเก็บไว้ในตู้  ปิดกุญแจ  วางไว้ในห้องซาคริสเตีย (ห้องหลังวัด) และจากพระรูปนี้เอง จึงเป็นที่มาของชื่อ “วัดกาลหว่าร์”

ขณะนั้น มีคริสตังชาวโปรตุเกส 137 คน แต่ไม่มีพระสังฆราชมาอยู่ประจำ มีเพียงพระสงฆ์ชาวฝรั่งเศสมาถวายมิสซาบ้างเป็นบางครั้ง เมื่อไม่มีพระสงฆ์โปรตุเกสมาประจำอยู่ พวกเขาค่อย ๆ ยอมรับพระสังฆราชชาวฝรั่งเศส ซึ่งได้รับการแต่งตั้งอย่างถูกต้อง จากสมเด็จพระสันตะปาปา ดังนั้น พระคุณเจ้า ฟลอรังส์  จึงเข้าปกครองวัดกาลหว่าร์ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1822 เป็นต้นมา

ต่อมาชาวโปรตุเกส จากค่ายแม่พระลูกประคำนี้ จึงอพยพโยกย้ายไปทำมาหากิน ตามที่ต่าง ๆ ทำให้ลดจำนวนลงเรื่อย ๆ จนแทบไม่หลงเหลืออยู่อีกต่อไป มีพระสงฆ์ไทยมาทำมิสซาบ้างเป็นบางโอกาส

ในปี ค.ศ. 1820 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 2 ทรงพระราชทานที่ดินแปลงหนึ่งตั้งอยู่ใต้วัดกาลหว่าร์ลงไปเล็กน้อย เพื่อตั้งกงศุลโปรตุเกส   และในภายหลังได้กลายเป็นสถานเอกอัครราชฑูตโปรตุเกสในปัจจุบัน